ระบบประสาท
1. ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervoussystem หรือ CNS) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง
2. ระบบประสาทส่วนปลาย หรือระบบประสาทรอบนอก ( PNS) ประกอบด้วยเส้นประสาทสมอง และเส้นประสาทไขสันหลัง และระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system หรือ ANS) ระบบประสาทรอบนอกหรือระบบประสาทส่วนปลาย ระบบประสาทรอบนอกประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึกทั้งหมด เส้นประสาทที่ติดต่อระหว่างหน่วยรับความรู้สึกกับระบบประสาทส่วนกลาง และเส้นประสาทที่เชื่อมโยงระหว่างระบบประสาทส่วนกลางกับหน่วยปฎิบัติงาน
ระบบประสาทใต้อำนาจจิตใจ หรือ ระบบประสาทโซมาติก (somatic nervous system) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลาย
ระบบประสาทอัตโนมัติ ( Autononic nervous system) หรือ ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจ ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบระบบประสาทอัตโนมัติประกอบด้วยระบบซิมพาเทติก (sympathetic system) และระบบพาราซิมพาเทติก (parasympathetic system)
1. สมองส่วนหน้า (forebrain ) ประกอบด้วยเทเลนเซฟาลอน (telencephalo)และไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เทเลนเซฟาลอนคือสมองใหญ่ (cerebrum) ส่วนไดเอนเซฟาลอนประกอบด้วยไฮโพทาลามัส (hypothalamus)ทาลามัส (thalamus)
2. สมองส่วนกลาง (midbrain ) ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของก้านสมองและเป็นจุดศูนย์กลางของรีเฟลกซ์เกี่ยวกับการมองเห็น (visual reflex) และรีเฟลกซ์เกี่ยวกับการได้ยิน (auditory reflex)
3. สมองส่วนท้าย (hindbrain หรือ rhombencephalon) ประกอบด้วยเมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongate) เซรีเบลลัม (cerebellum) และ พอนส์ (pons)
- Gray matter เป็นที่อยู่ของกระแสประสาทและ axon ที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
- White matter เป็นที่อยู่ของ axon ที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
- ชั้นนอก (Pura mater) เหนียว แข็งแรงมากโดยมีหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือน
- ชั้นกลาง (Arachoid mater) เป็นเยื่อบางๆ
- ชั้นใน (Pia mater) มีเส้นเลือดแทรกมากมายทำหน้าที่ส่งอาหารไปเลี้ยงสมอง ในระหว่าง
ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ส่วน คือ
- White matter เป็นส่วนที่มีสีขาวรอบนอก ไม่มีเซลล์ประสาทจะมีเฉพาะใยประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
- Gray matter เป็นส่วนสีเทา ประกอบด้วยใยประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม และตัวเซลล์ประสาทซึ่งมีทั้งประเภทประสานงานและนำคำสั่ง
โครงสร้างของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง
- ปีกบน (dorsal horn) เป็นบริเวณรับความรู้สึก
- ปีกล่าง (ventral horn) เป็นบริเวณนำคำสั่ง
- ปีกข้าง (lateral horn) เป็นบริเวณระบบประสาทอัตโนวัติ Note
- ตัวเซลล์ (cell body หรือ soma)มีส่วนประกอบเหมือนเซลล์ทั่วๆไป เช่น นิวเคลียส ไมโตคอนเดีย
- ใยประสาท (nerve fiber) คือส่วนของโปรโตพลาสซึมของเซลล์ที่ยื่นออกไปมี 2 ชนิด
axon หมายถึง แขนงของเซลล์ประสาท ซึ่งมีหน้าที่นำสัญญาณ หรือกระแสประสาท ( nerve impulse ) ออกจาก cell body ของเซลล์ประสาทนั้น
dendrite หมายถึง แขนงของเซลล์ประสาท ซึ่งมีหน้าที่นำสัญญาณหรือกระแสประสาท ( nerve impulse ) เข้าสู่ cell body ของเซลล์ประสาทนั้น
afferent หมายถึง การนำเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง เช่น afferent nerve fiber หมายถึง เส้นใยประสาทซึ่งทำหน้า ที่นำสัญญาณหรือกระแสประสาท จากอวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่างๆเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง
efferent หมายถึง การนำออกจากระบบประสาทส่วนกลาง เช่น efferent nerve fiber หมายถึงเส้นใยประสาท ซึ่งทำหน้าที่นำสัญญาณหรือกระแสประสาทส่วนกลาง ออกไปยังอวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่างๆ
bundle หมายถึง ใยประสาท ( nerve fibers ) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันเป็นกลุ่มของเส้นใยประสาท ของระบบ ประสาทส่วนกลาง
column หมายถึง ส่วนของระบบประสาทส่วนกลางที่เป็นแท่งหรือเป็นลำ
nerve หมายถึง เส้นประสาทที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น vagus nerve เส้นประสาทนี้เกิดจากกลุ่มของเส้นใยประสาทมารวมตัวกันเป็นมัดหรือแท่ง
ganglia หมายถึง กลุ่มของเซลล์ประสาท ( neurons ) ซึ่งอยู่นอกระบบประสาทส่วนกลาง
nucleus หมายถึง กลุ่มของเซลล์ประสาท ( neurons ) ซึ่งอยู่ภายในระบบประสาทส่วนกลาง
commissure หมายถึง ส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างโครงสร้างแบบเดียวกันซีกซ้ายและซีกขวา
peduncle หมายถึง ส่วนที่มีลักษณะเป็นก้านหรือขั้ว ทำหน้าที่เชื่อมส่วนต่างๆของสมอง
motor nerve fiber หมายถึง เส้นใยประสาทที่ทำหน้าที่นำสัญญาณหรือกระแสประสาทจากระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อไปกระตุ้น effector หรือ target organ
sensory nerve fiber หมายถึง เส้นใยประสาทซึ่งทำหน้าที่นำสัญญาณสัญญาณหรือกระแสประสาท จาก receptors เข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง
tract หมายถึง กลุ่มของเส้นใยประสาทในระบบประสาทส่วนกลางซึ่งมีเซลล์ประสาทต้นกำเนิด,ทางเดิน,ที่สิ้นสุด และทำหน้าที่อย่างเดียวกัน
เส้นประสาทสมอง
เรียกกันทั่วไปว่า เส้นประสาทที่แยกออกจากสมอง ในปลาและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมีจำนวน 10 คู่ ส่วน พวกในสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีจำนวน 12 คู่
สำหรับคนเรามี 12 คู่ คือ คู่ที่ 1 – 12
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 (olfactory nerve) รับความรู้สึกเกี่ยวกับ กลิ่น เยื่อหุ้มจมูก เข้าสู่ทอรีบัลล์> ออลแฟกทอรีโลบของสมองส่วนซีรีบรัมอีกที่หนึ่ง
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 (optic nerve) รับความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็น จากเรตินาของลูกตา>ออพติกโลบ >ออพซิพิทัลโลบของซีรีบรัมอีกที่หนึ่ง
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 3 (oculomotor nerve ) เส้นประสาท สั่งการจากสมองส่วนกลางไปยังกล้ามเนื้อลูกตา 4มัด ทำให้ลูกตา เคลื่อนไหวกลอกตาไปมาได้ และยังไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่ทำให้ลืมตา ทำให้ม่านตาหรี่หรือขยายและไปยังกล้ามเนื้อปรับเลนส์ตาอีกด้วย
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 4 (trochlea nerve ) เป็นเส้นประสาทสั่งการ ไปยังกล้ามเนื้อลูกตา มองลงและมองไปทางหางตา
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 (trigerminal nerve) แบ่งออกเป็น 3 แขนง ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากใบหน้า ลิ้นฟัน ปากเหงือก กลับเข้าสู่สมอง ส่วนพาเรียทัลโลบ และทำหน้าที่สั่งการไปควบคุมกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยวอาหาร
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 6 (abducens nerve) เป็นเส้นประสาทสั่งการ ออกจากพอนส์ไปยังกล้ามเนื้อลูกตาทำให้เกิดการชำเลือง
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (facial nerve) เป็นเส้นประสาทที่สั่งการไปยังกล้ามเนื้อหน้าทำให้เกิดสีต่าง ๆ กัน และยังเป็นเส้นประสาทรับความรู้สึกรับรสจากปลายลิ้นเข้าสู่ซีรีบรัมส่วนพาเรียทัลโลบ
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 (auditory nerve) เส้นประสาทรับความรู้สึก แยกออกเป็น 2 แขนง แขนงหนึ่งจากคลอเคลียของหู ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินเข้าสู่ซีรีบรัม ส่วนเทมพอรัลโลบ อีกแขนงหนึ่งนำความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัวจากเซมิเซอร์คิวลาร์แคแนล เข้าสู่ซีรีเบลลัม
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 9 (glossopharyngeal nerve) เป็นเส้นประสาท รับความรู้สึกจากช่องคอ และรับรสจากโคนลิ้นเข้าสู่ซีรีบรัมส่วนพาเรียทัลโลบ และนำกระแสประสาทสั่งการจากสมองไปยังกล้ามเนื้อบริเวณคอหอยที่เกี่ยวกับการกลืน และต่อมน้ำลายใต้หูให้หลั่งน้ำลาย
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 (vegus nerve) เป็นเส้นประสาทรับความรู้สึกจากลำคอ กล่องเสียง ช่องอก ช่องท้อง ส่วนเส้นประสาทสั่งการจะออกจากเมดัลลาออบลองกาตาไปยังกล้ามเนื้อลำคอ กล่องเสียง อวัยวะภายใน ช่องปาก และช่องท้อง
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 11 (accessory nerve) เป็นเส้นประสาทสั่งการจากเมดัลลาออบลองกาตาและไขสันหลัง ไปยังกล้ามเนื้อคอ ช่วยในการเอียงคอและยกไหล่
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 12 (hypoglossal nerve) เป็นเส้นประสาทสั่งการไปยังกล้ามเนื้อลิ้นทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของลิ้น