1. มองโลกในแง่ดี เมื่อเรามีความคิดที่ทำให้ซึมเศร้า เช่น "ฉันทำวิชาเลขไม่ได้" ให้คิดใหม่ว่า "ถ้าฉันได้รับความช่วยเหลือที่ถูกต้องฉันก็จะทำได้" แล้วไปหาครู ครูพิเศษ หรือให้เพื่อนช่วยติวให้
2. หาสมุดบันทึกสักเล่มไว้เขียนก่อนเข้านอนทุกวัน ในสมุดบันทึกเล่มนี้ ห้ามเขียนเรื่องไม่ดี จงเขียนแต่เรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นในวันนั้น ตอนแรกอาจจะยากหน่อย แต่ให้เขียนเรื่องอย่างเช่น มีคนแปลกหน้ายิ้มให้ ถ้าได้ลองตั้งใจทำ มันจะเปลี่ยนความคิดให้เรามองหาแต่เรื่องดีๆ จากการศึกษาพบว่า คนที่คิดฆ่าตัวตายมีอาการดีขึ้นหลังจากเริ่มเขียนบันทึกเรื่องดีๆ ได้เพียงสองสัปดาห์
3. ใช้เวลาอยู่กับคนที่ทำให้เธอหัวเราะได้
4. ใส่ใจกับความรู้สึกของตนเองในเวลาแต่ละช่วงวัน การตระหนักรู้ถึงอารมณ์ของตัวเองจะทำให้เราจับคู่งานที่เราต้องทำกับระดับพลังงานในตัวได้อย่างเหมาะสม เช่น ถ้าเรารู้สึกดีที่สุดตอนเช้าแสดงว่าตอนเช้าคือเวลาจัดการกับงานเครียดๆ เช่น ไปเจอเพื่อนที่ทำร้ายจิตใจเรา หรือคุยกับครูที่เราคิดว่าให้เกรดเราผิด ถ้าปรกติเราหมดแรงตอนบ่าย ให้เก็บเวลาช่วงนั้นเอาไว้ทำกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้พลังทางอารมณ์มาก เช่น อ่านหนังสือหรืออยู่กับเพื่อน อย่าทำอะไรเครียดๆ เวลาเหนื่อยหรือเครียด
5. สังเกตอารมณ์ตัวเองในเวลาช่วงต่างๆ ของเดือน ผู้หญิงบางคนพบว่า ช่วงเวลาที่ตัวเองอารมณ์ไม่ดีสัมพันธ์กับรอบเดือน
6. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายช่วยให้เราแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ การออกกำลังกายอย่างน้อยแค่วันละ 20 นาที สามารถทำให้รู้สึกสงบและมีความสุขได้ การออกกำลังจะช่วยเพิ่มการผลิตเอ็นดอร์ฟีนของร่างกายด้วย เอ็นดอร์ฟีนเป็นสารเคมีในร่างกาย ที่ทำให้เกิดความรู้สึกดีและมีความสุขตามธรรมชาติโดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติด
7. รู้จักไตร่ตรองแยกแยะ
8. ฟังเพลง งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า จังหวะของเสียงเพลงช่วยจัดระเบียบความคิดและความรู้สึกมั่นคงภายในจิตใจ และช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ
9. โทรหาเพื่อน การขอความช่วยเหลือทำให้คนเรารู้สึกผูกพันกับคนอื่นและรู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลง และการโอบกอดช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกดีออกมา ซึ่งจะช่วยให้เรารับมือกับอารมณ์ได้
10. อยู่ท่ามกลางคนที่มีความสุข อารมณ์ดีเป็นโรคติดต่อที่แพร่ได้เร็วมา เราจะเลียนแบบสีหน้า การแสดงออก กล้ามเนื้อ ท่าทาง รูปแบบการพูด เพื่อให้เข้ากับคนที่เราอยู่ด้วยโดยที่เราไม่รู้ตัว
ที่มา : เย็นตาโฟว์ดอทคอม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น