ff

ff
ข้อคิดดีๆ

วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

learning log

ชีววิทยา
ระบบประสาท
ระบบประสาท 
        ระบบประสาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
         1. ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervoussystem หรือ CNS) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง
         2. ระบบประสาทส่วนปลาย หรือระบบประสาทรอบนอก ( PNS) ประกอบด้วยเส้นประสาทสมอง และเส้นประสาทไขสันหลัง และระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system หรือ ANS) ระบบประสาทรอบนอกหรือระบบประสาทส่วนปลาย ระบบประสาทรอบนอกประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึกทั้งหมด เส้นประสาทที่ติดต่อระหว่างหน่วยรับความรู้สึกกับระบบประสาทส่วนกลาง และเส้นประสาทที่เชื่อมโยงระหว่างระบบประสาทส่วนกลางกับหน่วยปฎิบัติงาน
         ระบบประสาทใต้อำนาจจิตใจ  หรือ ระบบประสาทโซมาติก (somatic nervous system) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลาย
         ระบบประสาทอัตโนมัติ ( Autononic nervous system) หรือ ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจ ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบระบบประสาทอัตโนมัติประกอบด้วยระบบซิมพาเทติก (sympathetic system) และระบบพาราซิมพาเทติก (parasympathetic system)
 
ศูนย์ควบคุมระบบประสาท
สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
         1. สมองส่วนหน้า (forebrain ) ประกอบด้วยเทเลนเซฟาลอน (telencephalo)และไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เทเลนเซฟาลอนคือสมองใหญ่ (cerebrum) ส่วนไดเอนเซฟาลอนประกอบด้วยไฮโพทาลามัส (hypothalamus)ทาลามัส (thalamus)
         2. สมองส่วนกลาง (midbrain ) ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของก้านสมองและเป็นจุดศูนย์กลางของรีเฟลกซ์เกี่ยวกับการมองเห็น (visual reflex) และรีเฟลกซ์เกี่ยวกับการได้ยิน (auditory reflex)
         3. สมองส่วนท้าย (hindbrain หรือ rhombencephalon) ประกอบด้วยเมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongate) เซรีเบลลัม (cerebellum) และ พอนส์ (pons)
         สมอง มี 2 ชั้น (ตรงข้ามกับไขสันหลัง)
  1. Gray matter เป็นที่อยู่ของกระแสประสาทและ axon ที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
  2. White matter เป็นที่อยู่ของ axon ที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
         เยื่อหุ้มสมอง (Menirges) 3 ชั้น คือ
  1. ชั้นนอก (Pura mater) เหนียว แข็งแรงมากโดยมีหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือน
  2. ชั้นกลาง (Arachoid mater) เป็นเยื่อบางๆ
  3. ชั้นใน (Pia mater) มีเส้นเลือดแทรกมากมายทำหน้าที่ส่งอาหารไปเลี้ยงสมอง ในระหว่าง
ชั้นกลางกับชั้นในจะมีการบรรจุของเหลวที่เรียกว่า น้ำเลี้ยงสมองไขสันหลัง โดยจำทำหน้าที่ให้สมองแลไขสันหลังเปียกชื้ออยู่เสมอ
ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ส่วน คือ
  1. White matter เป็นส่วนที่มีสีขาวรอบนอก ไม่มีเซลล์ประสาทจะมีเฉพาะใยประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
  2. Gray matter เป็นส่วนสีเทา ประกอบด้วยใยประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม และตัวเซลล์ประสาทซึ่งมีทั้งประเภทประสานงานและนำคำสั่ง

โครงสร้างของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง

  1. ปีกบน (dorsal horn) เป็นบริเวณรับความรู้สึก
  2. ปีกล่าง (ventral horn) เป็นบริเวณนำคำสั่ง
  3. ปีกข้าง (lateral horn) เป็นบริเวณระบบประสาทอัตโนวัติ Note
เซลล์ประสาท ส่วนประกอบของเซลล์ประสาท
  1. ตัวเซลล์ (cell body หรือ soma)มีส่วนประกอบเหมือนเซลล์ทั่วๆไป เช่น นิวเคลียส ไมโตคอนเดีย
  2. ใยประสาท (nerve fiber) คือส่วนของโปรโตพลาสซึมของเซลล์ที่ยื่นออกไปมี 2 ชนิด
 
คำจำกัดความ ( Definition ) เกี่ยวกับระบบประสาท
         neuron ( nerve cell ) เซลล์ประสาท ซึ่ง ประกอบด้วย cell body และแขนง คือ dendrite และ axon
         axon หมายถึง แขนงของเซลล์ประสาท ซึ่งมีหน้าที่นำสัญญาณ หรือกระแสประสาท ( nerve impulse ) ออกจาก cell body ของเซลล์ประสาทนั้น
         dendrite หมายถึง แขนงของเซลล์ประสาท ซึ่งมีหน้าที่นำสัญญาณหรือกระแสประสาท ( nerve impulse ) เข้าสู่ cell body ของเซลล์ประสาทนั้น
         afferent หมายถึง การนำเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง เช่น afferent nerve fiber หมายถึง เส้นใยประสาทซึ่งทำหน้า ที่นำสัญญาณหรือกระแสประสาท จากอวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่างๆเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง
         efferent หมายถึง การนำออกจากระบบประสาทส่วนกลาง เช่น efferent nerve fiber หมายถึงเส้นใยประสาท ซึ่งทำหน้าที่นำสัญญาณหรือกระแสประสาทส่วนกลาง ออกไปยังอวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่างๆ
         bundle หมายถึง ใยประสาท ( nerve fibers ) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันเป็นกลุ่มของเส้นใยประสาท ของระบบ ประสาทส่วนกลาง
         column หมายถึง ส่วนของระบบประสาทส่วนกลางที่เป็นแท่งหรือเป็นลำ
         nerve หมายถึง เส้นประสาทที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น vagus nerve เส้นประสาทนี้เกิดจากกลุ่มของเส้นใยประสาทมารวมตัวกันเป็นมัดหรือแท่ง
         ganglia หมายถึง กลุ่มของเซลล์ประสาท ( neurons ) ซึ่งอยู่นอกระบบประสาทส่วนกลาง
         nucleus หมายถึง กลุ่มของเซลล์ประสาท ( neurons ) ซึ่งอยู่ภายในระบบประสาทส่วนกลาง
         commissure หมายถึง ส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างโครงสร้างแบบเดียวกันซีกซ้ายและซีกขวา
         peduncle หมายถึง ส่วนที่มีลักษณะเป็นก้านหรือขั้ว ทำหน้าที่เชื่อมส่วนต่างๆของสมอง
         motor nerve fiber หมายถึง เส้นใยประสาทที่ทำหน้าที่นำสัญญาณหรือกระแสประสาทจากระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อไปกระตุ้น effector หรือ target organ
         sensory nerve fiber หมายถึง เส้นใยประสาทซึ่งทำหน้าที่นำสัญญาณสัญญาณหรือกระแสประสาท จาก receptors เข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง
         tract หมายถึง กลุ่มของเส้นใยประสาทในระบบประสาทส่วนกลางซึ่งมีเซลล์ประสาทต้นกำเนิด,ทางเดิน,ที่สิ้นสุด และทำหน้าที่อย่างเดียวกัน

เส้นประสาทสมอง

      เรียกกันทั่วไปว่า เส้นประสาทที่แยกออกจากสมอง ในปลาและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมีจำนวน 10 คู่ ส่วน พวกในสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีจำนวน 12 คู่

สำหรับคนเรามี 12 คู่ คือ คู่ที่ 1 – 12

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 1  (olfactory nerve) รับความรู้สึกเกี่ยวกับ กลิ่น เยื่อหุ้มจมูก เข้าสู่ทอรีบัลล์> ออลแฟกทอรีโลบของสมองส่วนซีรีบรัมอีกที่หนึ่ง

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 (optic nerve) รับความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็น จากเรตินาของลูกตา>ออพติกโลบ >ออพซิพิทัลโลบของซีรีบรัมอีกที่หนึ่ง

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 3 (oculomotor nerve ) เส้นประสาท สั่งการจากสมองส่วนกลางไปยังกล้ามเนื้อลูกตา 4มัด ทำให้ลูกตา เคลื่อนไหวกลอกตาไปมาได้ และยังไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่ทำให้ลืมตา ทำให้ม่านตาหรี่หรือขยายและไปยังกล้ามเนื้อปรับเลนส์ตาอีกด้วย

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 4 (trochlea nerve ) เป็นเส้นประสาทสั่งการ ไปยังกล้ามเนื้อลูกตา มองลงและมองไปทางหางตา

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5  (trigerminal nerve) แบ่งออกเป็น 3 แขนง ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากใบหน้า ลิ้นฟัน ปากเหงือก กลับเข้าสู่สมอง ส่วนพาเรียทัลโลบ และทำหน้าที่สั่งการไปควบคุมกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยวอาหาร

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 6  (abducens nerve) เป็นเส้นประสาทสั่งการ ออกจากพอนส์ไปยังกล้ามเนื้อลูกตาทำให้เกิดการชำเลือง

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (facial nerve) เป็นเส้นประสาทที่สั่งการไปยังกล้ามเนื้อหน้าทำให้เกิดสีต่าง ๆ กัน และยังเป็นเส้นประสาทรับความรู้สึกรับรสจากปลายลิ้นเข้าสู่ซีรีบรัมส่วนพาเรียทัลโลบ

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 8  (auditory nerve) เส้นประสาทรับความรู้สึก แยกออกเป็น 2 แขนง แขนงหนึ่งจากคลอเคลียของหู ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินเข้าสู่ซีรีบรัม     ส่วนเทมพอรัลโลบ อีกแขนงหนึ่งนำความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัวจากเซมิเซอร์คิวลาร์แคแนล เข้าสู่ซีรีเบลลัม

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 9  (glossopharyngeal nerve) เป็นเส้นประสาท รับความรู้สึกจากช่องคอ  และรับรสจากโคนลิ้นเข้าสู่ซีรีบรัมส่วนพาเรียทัลโลบ และนำกระแสประสาทสั่งการจากสมองไปยังกล้ามเนื้อบริเวณคอหอยที่เกี่ยวกับการกลืน และต่อมน้ำลายใต้หูให้หลั่งน้ำลาย

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 10  (vegus nerve) เป็นเส้นประสาทรับความรู้สึกจากลำคอ กล่องเสียง ช่องอก ช่องท้อง ส่วนเส้นประสาทสั่งการจะออกจากเมดัลลาออบลองกาตาไปยังกล้ามเนื้อลำคอ กล่องเสียง อวัยวะภายใน ช่องปาก และช่องท้อง

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 11  (accessory nerve) เป็นเส้นประสาทสั่งการจากเมดัลลาออบลองกาตาและไขสันหลัง ไปยังกล้ามเนื้อคอ ช่วยในการเอียงคอและยกไหล่

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 12  (hypoglossal nerve) เป็นเส้นประสาทสั่งการไปยังกล้ามเนื้อลิ้นทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของลิ้น

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

10 วิธีจัดการอารมณ์ไม่ดี




         1. มองโลกในแง่ดี  เมื่อเรามีความคิดที่ทำให้ซึมเศร้า เช่น "ฉันทำวิชาเลขไม่ได้" ให้คิดใหม่ว่า "ถ้าฉันได้รับความช่วยเหลือที่ถูกต้องฉันก็จะทำได้" แล้วไปหาครู ครูพิเศษ หรือให้เพื่อนช่วยติวให้

         2. หาสมุดบันทึกสักเล่มไว้เขียนก่อนเข้านอนทุกวัน ในสมุดบันทึกเล่มนี้ ห้ามเขียนเรื่องไม่ดี จงเขียนแต่เรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นในวันนั้น ตอนแรกอาจจะยากหน่อย แต่ให้เขียนเรื่องอย่างเช่น มีคนแปลกหน้ายิ้มให้ ถ้าได้ลองตั้งใจทำ มันจะเปลี่ยนความคิดให้เรามองหาแต่เรื่องดีๆ จากการศึกษาพบว่า คนที่คิดฆ่าตัวตายมีอาการดีขึ้นหลังจากเริ่มเขียนบันทึกเรื่องดีๆ ได้เพียงสองสัปดาห์

         3. ใช้เวลาอยู่กับคนที่ทำให้เธอหัวเราะได้

         4. ใส่ใจกับความรู้สึกของตนเองในเวลาแต่ละช่วงวัน การตระหนักรู้ถึงอารมณ์ของตัวเองจะทำให้เราจับคู่งานที่เราต้องทำกับระดับพลังงานในตัวได้อย่างเหมาะสม เช่น ถ้าเรารู้สึกดีที่สุดตอนเช้าแสดงว่าตอนเช้าคือเวลาจัดการกับงานเครียดๆ เช่น ไปเจอเพื่อนที่ทำร้ายจิตใจเรา หรือคุยกับครูที่เราคิดว่าให้เกรดเราผิด ถ้าปรกติเราหมดแรงตอนบ่าย ให้เก็บเวลาช่วงนั้นเอาไว้ทำกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้พลังทางอารมณ์มาก เช่น อ่านหนังสือหรืออยู่กับเพื่อน อย่าทำอะไรเครียดๆ เวลาเหนื่อยหรือเครียด

         5. สังเกตอารมณ์ตัวเองในเวลาช่วงต่างๆ ของเดือน ผู้หญิงบางคนพบว่า ช่วงเวลาที่ตัวเองอารมณ์ไม่ดีสัมพันธ์กับรอบเดือน

         6. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายช่วยให้เราแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ การออกกำลังกายอย่างน้อยแค่วันละ 20 นาที สามารถทำให้รู้สึกสงบและมีความสุขได้ การออกกำลังจะช่วยเพิ่มการผลิตเอ็นดอร์ฟีนของร่างกายด้วย เอ็นดอร์ฟีนเป็นสารเคมีในร่างกาย ที่ทำให้เกิดความรู้สึกดีและมีความสุขตามธรรมชาติโดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติด

         7. รู้จักไตร่ตรองแยกแยะ

         8. ฟังเพลง งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า จังหวะของเสียงเพลงช่วยจัดระเบียบความคิดและความรู้สึกมั่นคงภายในจิตใจ และช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ

         9. โทรหาเพื่อน การขอความช่วยเหลือทำให้คนเรารู้สึกผูกพันกับคนอื่นและรู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลง และการโอบกอดช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกดีออกมา ซึ่งจะช่วยให้เรารับมือกับอารมณ์ได้

         10. อยู่ท่ามกลางคนที่มีความสุข อารมณ์ดีเป็นโรคติดต่อที่แพร่ได้เร็วมา เราจะเลียนแบบสีหน้า การแสดงออก กล้ามเนื้อ ท่าทาง รูปแบบการพูด เพื่อให้เข้ากับคนที่เราอยู่ด้วยโดยที่เราไม่รู้ตัว






ที่มา : เย็นตาโฟว์ดอทคอม

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

24 ประการ วิธีการแก้เซ็ง
24 ประการ วิธีการแก้เซ็ง





1. ลองหาหนังสือที่ชอบอ่าน .. ควรจะอ่านหนังสือ “ขำขัน” ไม่ควรอ่านหนังสือนิยาย ประเภทรักไม่สมหวัง ชอกช้ำ พระเอกตาย นางเอกโดนจับไปขายตัว เพราะมันจะทำให้คุณหดหูยิ่งขึ้น


2. ไปเช่าหนังมาดู .. หนังตลกก็ดีน๊ะ อย่าดูหนังเศร้าล่ะ .. ถ้าจะดูหนังผีก็ดู หนังผี ฮา ๆ .. อย่าดูอะไรที่มันสยองน๊ะ .. เพราะมันอาจจะทำให้คุณอยากเป็นผีได้ ..


3. ไปเดินห้าง .. เดินดูของ เดินดูเสื้อผ้า .. เดินเหล่สาว .. เดินมองหนุ่ม ๆ แล้วแต่ชอบเลยจ้า .... จะช้อปให้แหลก ก็ตามสบาย ( ระวังเป๋าแฟบล่ะ )


4. ไปออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็น โยนโบลลิ่ง ว่ายน้ำ ฟิตเนส เต้นแอโรบิค วิ่ง ปิงปอง เปตอง ฟุตบอล แบทบินตัน บาสเกตบอล วอลเลย์บอล ขว้างจักร พุ่งแหลม ( แล้วแต่ถนัดเลย )ฯลฯ


5. ไปหาอะไร อร่อยๆทาน เลือกร้านที่บรรยากาศดีๆ ไม่น่าเบื่อ มีอะไรแปลกใหม่ท้าทาย .. น่าตื่นเต้น


6. ชวนเพื่อนๆ คนสนิท ไปนั่งเมาท์กาน .. เมาท์แก้เซ็ง ( อย่าเมาท์เรื่องการเมืองล่ะ 55+ )


7. ไปเที่ยวทะเล สวนสนุก เที่ยวป่า เที่ยวเขา เที่ยวน้ำตก เที่ยสวนสัตว์ เที่ยวพิพิธภัณฑ์ .. ฯลฯ ถ้ามีตังค์หน่อยก็ไปเที่ยวต่างจังหวัด ถ้าตังค์หนาเป็นฟ่อนก็ไปเที่ยวต่างประเทศเลย ..


8. ไปบ้านเพื่อน .. ( ไปบ้านที่ของกินเยอะๆ บรรยากาศดีๆ แล้วก็ไปถล่มเลย ) อิ อิ


9. ถ้าเบื่อๆ แล้วไม่รู้จะทำอะไรก็ ... แกล้งเพื่อนสิ แกล้งอาไรที่มันไม่รุนแรงนะ แกล้งอาไรที่น่ารักๆน่ะ ถ้าแกล้งแล้วเพื่อนโกรธอันนี้ไม่รู้ด้วยล่ะ


10. ชวนเพื่อนๆ หรือใครก็ได้ ไปดูคอนเสิร์ตที่ชอบ .. ไปเต้นให้มันส์เลย ..


11. ดูตลกคาเฟ่ .. ดูระเบิดเถอดเทิง ดูโทรทัศน์ ดู UBC


12. กินน้ำชา + โรตี ชวนเพื่อนๆไปปาร์ตี้กัน ( ไม่มีแอลกอฮอล์น๊ะจ๊ะ )


13. เล่นอินเตอร์เนต แชท กับ เพื่อนๆ หรือใครก็ได้ ไประบายความเซ็งซะ ..


14. หาเวปไซต์ ดีๆอ่าน เช่น สาระแน ฯลฯ ( คงไม่มีใครทะลึ่งไปเปิดเวปโป๊น๊ะ )


15. เล่นเกมส์ .. ไม่ว่าจะเกมส์กด เกมเพล เกมคอม เกม... ฯลฯ


16. ชวนที่บ้านขับรถเล่น .. กินลม ชมเมือง


17. ไป สปา .. ( ถ้ามีตังค์หน่อยน๊ะ )


18. ทำกับข้าว .. ใครชอบทำกับข้าว ทำอาหาร ทำขนม ก็ลงมือเลยน๊ะจ๊ะ


19. เขียนไดอารี่ .. เขียนโน่นขีดนี่ วาดภาพ ฟังเพลง ร้องเพลง เล่นดนตรี .. สร้างบ้าน ( บ้านเลโก้น๊ะจ๊ะ )


20. ทำสวน .. ( ช่วยคุณพ่อคุณแม่ นะเด็กดี )


21. ทำงานบ้านกวาดบ้านถูบ้าน .. จัดทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า ( เด็กดีภาค 2 )


22. คุยโทรศัพท์กับคนที่คุณคิดว่าจะทำให้คุณหายเบื่อได้ ........................................................


23. ฝึกนั่งสมาธิ สงบจิตสงบใจ .. คิดว่าเรื่องบนโลกใบนี้มันเป็นเรื่องธรรมดา


24. นอนหลับ .. นอนซะ นอน .. นอน ... เผื่อตื่นมาแล้วจะหายเบื่อน๊ะจ๊ะ


25. Good Night ja


โปรดใช้วิจารณญาณ ในการอ่าน และใช้สติคิดเอาเองว่า .. วิธีไหน เหมาะกับเวลา และ สถานที่ใด ..


ยกตัวอย่างเช่น .. น้องๆที่กำลังนั่งสอบอยู่ เกิดอาการ เบื่อ เซ็ง ขึ้นมากระทัน จึงเลือกใช้ วิธีที่ 7 ( โดยน้องเค้าเป็นคนที่มีทรัพย์สินมหาศาล ) จึงคิดไว้ว่าจะแก้เซ็งโดยการไปเที่ยวต่างประเทศ น้องก็เดินจากห้องสอบเฉยเลย .. อันนี้คิดว่ามันไม่เหมาะสม .. น้องควรสอบให้เสร็จก่อนแล้วไปเที่ยวนะจ๊ะ ..


เพราะฉะนั้น จงใช้สติในการเลือกวิธีแก้เซ็งกันเอาเองน๊ะจ๊ะ ... แต่ถ้าใครมีวิธีที่ดีๆแล้ว ก็ขอให้หายเซ็งไวๆล่ะ อย่าลืม “ตั้งสติ ก่อนเลือกวธีแก้เซ็งนะ”

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิธีแก้เครียด
เครียด

         หนูมีวิธีแก้เครียด ดังนี้
    ยิ้ม การยิ้มเป็นภาษากายที่ดีที่สุด เป็นการเปิดประตูของหัวใจรับความสุขและให้ความสุขแก่ผู้อื่น และชื่นชมตัวเองได้ด้วย จงคิดว่าเรายิ้มให้กับความดีของคนอื่น จงยิ้มอย่างสดชื่น อารมณ์ดีมีชีวิตชีวา
    อย่ากังวล ความกังวลเกิดจากความคาดหวัง อยากจะได้ในสิ่งที่เป็นได้ยาก และใจจะคิดอยากได้อยู่เสมอ เมื่อหมดความแสวงหา ลดความต้องการ ลดความอยากได้ลง ก็จะได้ไม่เครียดและเป็นทุกข์ต่อไป
    ความระแวง ความระแวงทำให้เป็นโรคเหงา คบใครๆ ก็ไม่สนิทสนมจากใจจริงและรู้สึกไม่ปลอดภัย เมื่ออยู่กับผู้อื่น ต้องทำอดีตให้เป็นอดีต อย่าทำอดีตให้เป็นปัจจุบันและกลัวอนาคต "เลิกคิดเถิด ความระแวง มะเร็งของความสุขของมนุษย์"
    ความโกรธ ความโกรธเป็นอารมณ์ที่น่ากลัวและรุนแรงที่สุด การลดความโกรธมีหลายอย่าง เช่น การทำงานให้มากขึ้น ออกกำลังกาย สนใจศิลปวัฒนธรรม ธรรมชาติ เดินทางท่องเที่ยว ดนตรี เล่นกีฬา
    อารมณ์ขัน อารมณ์ขันนี้เป็นยาวิเศษที่ทำให้มีความสุข ผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้เกิดมิตรภาพ มีความสนุกสนานและบรรยากาศรอบๆ ตัวจะสุนทรีย์ ลดตัวเองสู่ความเป็นเด็กได้ มองโลกในแง่ดี รู้จักให้อภัยตัวเองและผู้อื่นได้
    คาถาคลายเครียด "ช่างมัน" มนุษย์หนีความเครียดไม่พ้นหรอก บางคนมีมาก บางคนมีน้อย ความเครียดจึงทำให้ไม่เป็นสุข ทุกอย่างที่เกิดขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงไป และสิ้นสุดได้ทั้งนั้น เมื่อรู้แล้วก็ปล่อยวาง หรือ "ช่างมัน" เมื่อรู้อย่างนี้แล้วใครอยากจะเครียดนานๆ ก็ตามใจ นอกจากไม่มีความสุขแล้วยังแก่เร็ว ป่วยบ่อยๆ ด้วย




ข้อมูลและภาพประกอบจาก